วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันมาฆบูชา


วันมาฆบูชา


วันมาฆบูชา (บาลีมาฆปูชาอังกฤษMagha Puja) เป็นวันสำคัญของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย[1]"มาฆบูชา" ย่อมาจาก "มาฆปูรณมีบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะ ตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย (ตกช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม) ถ้าในปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองหน (ปีอธิกมาส) ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 3 หลัง (วันเพ็ญเดือน 4) [2]
วันมาฆบูชา ได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางศานาพุทธเนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา โดยมีเหตุการณ์เกิดขึ้นพร้อมกัน 4 ประการ คือ พระสงฆ์สาวกที่มาประชุมพร้อมกันทั้ง 1,250 รูปนั้นได้มาประชุมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย, พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดต่างล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง, พระสงฆ์ทั้งหมดที่มาประชุมล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา 6, และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญมาฆปุรณมีดิถี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกคำหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4[3][4]
เดิมนั้นไม่มีการประกอบพิธีมาฆบูชาในประเทศพุทธเถรวาท จนมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระองค์ได้ทรงปรารภถึงเหตุการณ์ครั้งพุทธกาลในวันเพ็ญเดือน 3 ดังกล่าวว่า เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญยิ่ง ควรมีการประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาเลื่อมใส จึงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชกุศลมาฆบูชาขึ้น[5] โดยการประกอบพระราชพิธีคงคล้ายกับวันวิสาขบูชา คือมีการบำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ มีการพระราชทานจุดเทียนตามประทีปเป็นพุทธบูชาในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระอารามหลวงต่าง ๆ เป็นต้น โดยในช่วงแรกพิธีมาฆบูชาคงเป็นการพระราชพิธีภายใน ยังไม่แพร่หลายทั่วไป จนต่อมาความนิยมจัดพิธีมาฆบูชาจึงได้ขยายออกไปทั่วราชอาณาจักร
ปัจจุบันวันมาฆบูชาได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุดราชการในประเทศไทย[1] โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์[6] พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่นการตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์[7] ซึ่งกล่าวถึงหลักคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญความดีให้ถึงพร้อม และการทำจิตของตนให้ผ่องใส เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนทั้งมวล
นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันมาฆบูชา ให้เป็น "วันกตัญญูแห่งชาติ" เนื่องจากปัจจุบันสังคมไทยวัยรุ่นสาวมักจะเสียตัวในวันวาเลนไทน์หลายหน่วยงานจึงพยายามรณรงค์ให้วันมาฆบูชาเป็นวันแห่งความรัก (อันบริสุทธิ์) แทน
สำหรับในปี พ.ศ. 2555 นี้ วันมาฆบูชาจะตรงกับ วันพุธที่ 7 มีนาคม ตามปฏิทินสุริยคติ

วันแม่แห่งชาติ


ประวัติ

ในวานเปตรยุคโรมันโบราณมีวันหยุดที่คล้ายกันคือ มาโตรนาเลีย ซึ่งเป็นวันที่ระลึกถึงเทพีจูโน เทพีผู้พิทักษ์ ส่วนในยุโรปมีประวัติเกี่ยวกับวันแม่ที่หลากหลาย ตัวอย่างเช่น วันอาทิตย์แห่งความเป็นแม่ (Mothering Sunday) ซึ่งเป็นวันสำคัญของศาสนาคริสต์ ในสหรัฐอเมริกาได้มีการผลักดันให้มีการฉลองวันแม่ภายหลังสงครามกลางเมืองอเมริกัน โดย จูเลีย วอร์ด ฮาว โดยมีความเชื่อว่าเพศหญิงเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสร้างสังคม วันผู้หญิงนานาชาติได้มีการเฉลิมฉลองครั้งแรกเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452 ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งในเวลาใกล้เคียงกัน แอนนา ยาร์วิสได้เริ่มผลักดันให้มีการเฉลิมฉลองวันแม่ในสหรัฐอเมริกา

[แก้]วันแม่ในประเทศต่าง ๆ

ประเทศอื่น ๆ ก็มีการกำหนดวันแม่ไว้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ใช้วันอาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม ประเทศรัสเซียใช้วันที่ 28 พฤศจิกายน เป็นต้น ทั้งนี้บางประเทศมีการเฉลิมฉลองในวันสตรีสากล

[แก้]ประเทศญี่ปุ่น

ในญี่ปุ่น ปี 1931 (หรือปีโชวะที่ 6) องค์กร สตรีสูงสุดของญี่ปุ่นได้ตั้ง วันที่ 06 มีนาคม ซึ่งเป็นวันฉลองพระราชสมภพ ของ พระราชินี คาโอรุ มาโคโตะ (Empress Kaoru Makoto) เป็น "วันแม่" ต่อมาในปี 1937 วันที่ 5 พฤษภาคม (หรือปีโชวะที่12 ) และได้เปลี่ยนแปลงอีกครั้งเมื่อ (ได้รับการสนับสนุนโดยคณะกรรมการกลางให้จัดตั้งวันแม่) ขึ้นใหม่ในปี 1949 (หรือปีโชวะที่24 ) โดยมาจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่สองในเดือนพฤษภาคม ตามประเทศสหรัฐอเมริกาและอีกหลายๆประเทศ
ทั้งนี้ วันเด็ก 5 พฤษภาคม เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ (วันหยุดแห่งชาติตามกฎหมาย) "เพื่อให้เด็กได้มีความสุขกับครอบครัวและ ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อขอบคุณแม่ที่ทำให้เราได้เกิดมาอีกด้วย
ในวันแม่ ปกติประเทศญี่ปุ่นจะให้ดอกคาร์เนชั่นแต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ ไม่เพียงดอกคาร์เนชั่นเท่านั้น แต่ดอกกุหลาบสีชมพูและดอกเยอบิร่า ก็ให้ได้เช่นกัน

[แก้]ประเทศไทย

ดูบทความหลักที่ วันแม่แห่งชาติ (ประเทศไทย)
ในประเทศไทย เดิมมีการจัดงานวันแม่ โดยสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 15 เมษายน ของทุกปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2493 ตามมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 ในคณะรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม[2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ได้เปลี่ยนมาเป็นวันที่ 12 สิงหาคม ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พร้อมกับได้กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์แทนวันแม่ เนื่องจากเป็นดอกไม้ที่มีสีขาว มีกลิ่นหอมและออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูก[3]

[แก้]วันแม่นานาชาติ


ปฏิทินเกรโกเรียน
ทุกวันที่วันที่ประเทศ
วันอาทิตย์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์
8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
Shevat 30
(อาจมีขึ้นในวันที่ 30 มกราคม และ 1 มีนาคม)
วันอาทิตย์ที่สี่ในฤดูถือบวชเล็นท์
22 มีนาคม พ.ศ. 2552
14 มีนาคม พ.ศ. 2553
21 มีนาคม
(ฤดูใบไม้ผลิ วิษุวัต)
Flag of the United Arab Emirates สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ธงชาติของเยเมน เยเมน (ประเทศFlag of the League of Arab States อาหรับทั้งหมด โดยปกติ)
24 เมษายน +/- 5 วัน BaisakhAmavasya (Mata Tirtha Aunsi)
วันอาทิตย์แรกของเดือนพฤษภาคม
3 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
วันอาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม
10 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
9 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม
31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ธงชาติของฝรั่งเศส ฝรั่งเศส (First Sunday of June ifPentecost occurs on this day)
ธงชาติของฝรั่งเศส French Antilles(First Sunday of June ifPentecost occurs on this day)
ธงชาติของมองโกเลีย Mongolia† (The Mothers and Children's Day.)
Second Sunday of June
14 มิถุนายน พ.ศ. 2552
13 มิถุนายน พ.ศ. 2553
Last Sunday of June
28 มิถุนายน พ.ศ. 2552
27 มิถุนายน พ.ศ. 2553
19 สิงหาคม(Pâthâre Prabhu in Southern India)
Second Monday of October
12 ตุลาคม พ.ศ. 2552
11 ตุลาคม พ.ศ. 7440
Third Sunday of October
18 ตุลาคม พ.ศ. 2552
17 ตุลาคม พ.ศ. 2553
ธงชาติของอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา (Día de la Madre)
Last Sunday of November
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ปฏิทินฮิจญ์เราะหฺ
ทุกวันที่วันที่ประเทศ
14 มิถุนายน พ.ศ. 2552
อาทิตย์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์นอร์เวย์
8 มีนาคมบัลแกเรียแอลเบเนีย
อาทิตย์ที่สี่ในฤดูถือบวชเล็นท์ (มาเทอริง ซันเดย์)สหราชอาณาจักรไอร์แลนด์
21 มีนาคม (วันแรกของฤดูใบไม้ผลิ)จอร์แดนซีเรียเลบานอนอียิปต์
อาทิตย์แรกของเดือนพฤษภาคมโปรตุเกสลิทัวเนียสเปนแอฟริกาใต้ฮังการี
8 พฤษภาคมเกาหลีใต้ (วันผู้ปกครอง)
10 พฤษภาคมกาตาร์ซาอุดีอาระเบีย, ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้บาห์เรนปากีสถานมาเลเซียเม็กซิโกสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อินเดียโอมาน
อาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคมแคนาดาสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)สาธารณรัฐประชาชนจีนญี่ปุ่นเดนมาร์กตุรกีนิวซีแลนด์เนเธอร์แลนด์บราซิลเบลเยียมเปรูฟินแลนด์มอลตาเยอรมนี,ลัตเวียสโลวาเกียสิงคโปร์สหรัฐอเมริกาออสเตรเลียออสเตรียอิตาลีเอสโตเนียฮ่องกง
26 พฤษภาคมโปแลนด์
27 พฤษภาคมโบลิเวีย
อาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคมสาธารณรัฐโดมินิกันสวีเดน
อาทิตย์แรกของเดือนมิถุนายนหรือ อาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคมฝรั่งเศส
12 สิงหาคมไทย (วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ)
15 สิงหาคม (วันอัสสัมชัญ)คอสตาริกาแอนท์เวิร์ป (เบลเยียม)
อาทิตย์ที่สองหรือสามของเดือนตุลาคมอาร์เจนตินา (Día de la Madre)
28 พฤศจิกายนรัสเซีย
8 ธันวาคมปานามา
22 ธันวาคมอินโดนีเซีย

[แก้]อ้างอิง

                 http://th.wikipedia.org/wiki